ขับเคลื่อนโดย Blogger.

หน้าแรก

 
 
 
ด้วยรักและศรัทธา
 
 
ปลุกพลังแห่งความศรัทธาให้เติมเต็ม..ด้วยรัก 
 


Published: By: Guru Iman - 22:21

คุณค่าละหมาดตะฮัจยุด

 คุณค่าของการละหมาดตะฮัจยุด

 
 

 
 
 
 

ความดีของการละหมาดตะฮัจยุดในเวลากลางคืนที่เราจะได้รับ ...อินชาอัลลอฮฺ

 
1. อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะให้ ลิ้นของเรามีฮิกมะห์ พูดอะไรเข้าใจง่ายและอยากฟัง
2. ละหมาดตะฮัจยุด 2 รอกาอัต ดีกว่าโลก และ ทรัพสิน ที่มีอยู่
3. มีแสงสว่างในกุโบร์
4. เห็น สวรรค์ ก่อนตาย
5. ทำให้ร่างกายแข็งแรงลบล้างความชั่ว
6. คนที่ละหมาดตะฮัจยุดเป็นอิสติกอมะห์ อัลลอฮ์จะยกเกียรติสูงสุดให้แก่เขา
7. ปลอดภัยจากโรคร้าย และบาลอต่างๆ
8. เป็นเวลาที่ใกล้ชิดอัลลอฮ์มากที่สุด เพราะดุอาจะถูกตอบรับ
9. ก่อนนอน หากเราเหนียตละหมาดตะฮัจยุด แต่ไม่ตื่น เค้าก็จะได้ผลบุญนั้นเช่นกัน
10. เป็นอาม้าลของคนซอและห์
11. เป็นหัวใจของละหมาดสุนัตทั้งหมด
12. ขอดุอาเพื่อฮิดายัตทั่วโลก
13. ผุ้ปลุกคนให้ละหมาดตะฮัจยุด เขาจะได้ผลบุญเท่ากับซิเกรทั้งคืน

มาชาอัลลอฮ์ เป็นอย่างที่ท่านนบีบอกจริง ๆ ว่า ความดีนั้นมีมากมาย แต่อัสตัฆฟิรุ้ลลออ์คนทำมันน้อยเหลือเกิน

ท่านฮาฟิซ อิบนิ มาญัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อว่า มุนับบิฮัต ว่ามันคือความมืดมีอยู่ 5 ชนิด และสิ่งเดียวที่จะขจัดความมืดนี้คือ

1. ความรักต่อโลก เป็นความมืด แสงสว่างของมันคือ การตักวา
2. การกระทำบาป เป็นความมืด แสงสว่างของมันคือ การสารภาพผิด
3. ชีวิตในหลุมศพ คือความมืด แสงสว่างของมันคือ ลาอี้ลาฮาอิ้ลลั้ลลอฮ์
4. ชีวิตในวันโลกหน้า คือความมืด แสงสว่างของมันคือ การประกอบคุณงามความดี
5. สะพานซีร็อต คือความมืด แสงสว่างของมันคือ การศรัทธาอย่างมั่นคง.
      
เก็บไปคิดแล้วปฏิบัติแล้วบอกต่อ ๆ กันไปด้วยว่าสิ่งที่เอามาบอกนี้จริงไหม แล้วมีประโยชน์ต่อจิตใจการกระทำ และการดำเนินชีวิตเราอย่างไร ไม่มีคำว่าสายสำหรับการทำความดี ศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่เราสามารถปฏิบัติได้ เพียงแค่เราตักวาต่ออัลลอฮ์ ซอบัร อดทนมาก ๆ ให้คิดตลอดเวลาว่าเราต้องกลับไปหาอัลลอฮ์ วัลลอฮุอะลัม


อมีน ..ขออัลลอฮฺทรงโปรด แด่ผู้ที่ส่งบทความนี้มาเผยแพร่ด้วย..

cr. Islamsriayuthaya Alumni '25 Group

กลับสู่  >>  คำสอนของอิสลาม  |  การละหมาด



Published: By: Guru Iman - 20:49

ความประเสริฐของคืนนิสฟูซ๊ะอฺบาน


 

 
 
 

ความประเสริฐของคืนนิสฟูซ๊ะอฺบาน 


 
จากอัลกุรอ่าน ความว่า "ขอยืนยันด้วยฮามีม และคัมภีร์ที่ชัดเจนคืออัลกุรอ่านว่า แท้จริงเราได้ประทานคัมภีร์นั้นลงมา ในคืนอันเป็นศิริมงคล คือ คืนนิสฟูซ๊ะอฺบาน หรือ คืนลัยละตุ้ลกอดัร ซึ่งได้ประทานจากเลาหุ้ลม๊ะห์ฟูซมายังฟ้าชั้นที่หนึ่ง เป็นการประทานลงมาทั้งฉบับ และได้ค่อย ๆ ทยอยประทานมายังท่านศาสดามูฮัมมัดในช่วงเวลายี่สิบสามปีโดยประมาณ" 

การกล่าวที่ว่า อัลกุรอ่านได้ประทานลงมาในเดือนอันเป็นศิริมงคลนั้น เพราะ อัลกุรอ่าน เป็นคำสอนที่ให้ประโยชน์ทั้งดุนยาและอาคีเราะฮ์ และในคืนที่อัลกุรอ่านได้ถูกประทานลงมานั้น มวลมลาอีกะฮ์ได้ลงมายังผืนแผ่นดิน นำเราะห์มัตมาสู่ชาวโลก และยังเป็นคืนที่อัลลอฮ์ทรงโปรด 
        1 ตอบรับคำขอของผู้ที่ขอ
        2 เป็นเนี๊ยะมัต หรือประทานเนี๊ยะมัตตามความเหมาะสม
        3 โดยจำแนกระหว่างความเหมือนที่แตกต่าง หรือความแตกต่างที่เหมือนกัน 
 
และเรา (อัลลอฮ์) ได้แนะนำตักเตือนและจำแนกทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความกำกวมด้วยวิทยปัญญา ด้วยความปรีชาญานอีกด้วย อันใดที่จะเกิดขึ้นในระหว่างปีต่อปี ในระหว่างคืนวันนี้ในปีนี้และคืนวันนี้ในปีหน้า  ล้วนถูกกำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นริสกีที่แต่ละคนจะได้รับ หรือความดี ความชั่ว และแม้แต่ อะมั้ล อันหมายถึงจุดดับจุดอวสานของมัคลู๊กแต่ละหน่วย ต่างล้วนถูกกำหนดขึ้นในคืนวันนี้ทั้งสิ้น
 

คืนนิสฟูซ๊ะบานนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า                  ซึ่งหมายถึง คืนที่ "พ้นไป"

กล่าวคือ คนที่เป็นศัตรูของอัลลอฮ์ก็จะพ้นไปจากสรวงสวรรค์ของพระองค์ ดัง อัล-กุรอ่าน กล่าวว่า
 
ซึ่งมีความว่า "พ้นไปจากอัลลอฮ์และรอซู้ลของพระองค์"
 
สำหรับคนดี คนที่มีความยำเกรง เขาก็จะพ้นไปจากขุมนรก และในคืนวันนี้ยังเป็นคืนที่อะมั้ลต่าง ๆ ของชาวโลกจะถูกมลาอีกะฮ์นำขึ้นไปเก็บไว้เพื่อรอวันตัดสิน 

มีรายงานจากท่านนะบี ศ้อลฯ ว่า 

เมื่อถึงคืนกลางเดือนซ๊ะอฺบาน พวกท่านจงทำอิบาดะฮ์ในคืนวันนั้น จงถือบวชกันในตอนกลางวันของวันนั้น  แท้จริงอัลลอฮ์ท่านจะลงมายังฟ้าดุนยาตั้งแต่ตะวันลับขอบฟ้าของวันนั้น
พลางกล่าวว่า
หากมีใครขออะไรฉันจะให้ หากมีใครขออภัย ฉันจะอภัยให้ หากมีใครขอริสกีฉันจะประทานให้ พระองค์ทรงพร้อมที่จะให้เช่นนี้จนถึงเวลา ญะฟัร (ดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่)

และท่านนะบี ศ้อลฯ กล่าวว่า 

ขอสาบานต่อผู้ที่ส่งฉันมาเป็นนะบีด้วยความสัจจริงว่า ใครซอละหวาตให้แก่ฉันในคืนวันนี้ เขาจะได้รับผลบุญเหมือนผลบุญของบรรดานบี บรรดารอซู้ล ตลอดจนบรรดามลาอีกะฮ์และมนุษย์ทั้งมวล

และมีรายงานจาก อะบีบัศริน บิน สะอี๊ด จากท่านศาสดา ศ้อลฯ ว่า 

เมื่อถึง คืนที่สิบสามของเดือนซ๊ะอฺบาน ญิบรีลได้มาหาฉันและกล่าวแก่ฉันว่า
 
มูฮัมมัดเอ๋ย จงลุกขึ้นเถิด ได้เวลา ตะฮัจญุด แล้ว เพื่อท่านจะได้ขอในสิ่งที่ท่านต้องการอยากให้ได้กับประชากรของท่าน
 และท่านศาสดาก็ได้ลุกขึ้นทำ ตะฮัจญุด และเมื่อถึงเวลาฟะญัร ญิบรีลได้มาบอกกับท่านศาสดาว่า


โอ้ มูฮัมมัด อัลลอฮ์ท่านได้ให้อภัยหนึ่งในสามของประชากรของท่านแล้ว ท่านศาสดาถึงกับร้องไห้แล้วเอ่ยถามญิบรีลว่า  ญิบรีลจงบอกฉันว่า อีกสองในสามของประชากรของฉันเขาเป็นอย่างไร?  ญิบรีลตอบว่า  "ไม่รู้"

และเมื่อถึงคืนวันที่สอง  (หมายถึง  คืนวันที่สิบสี่ของเดือนซ๊ะบาน) ญิบรีลได้มาหาท่านศาสดาอีก แล้วได้พูดกับศาสดาว่า

โอ้ มูฮัมมัด จงลุกขึ้นมาทำตะฮัจญุด
แล้วศาสดาก็ได้ลุกขึ้นกระทำการ ตะฮัจญุด และเมื่อถึงเวลาฟะญัร ญีบรีลก็ได้มาบอกกับท่านศาสดาว่า


โอ้ มูฮัมมัด อัลลอฮ์ท่านได้ให้อภัยสองในสามของประชากรของท่าน ท่านศาสดาก็ยังร้องไห้อีก แล้วได้ถามญิบรีลถึงอีกหนึ่งในสามประชากรว่า เขาเป็นอย่างไร? ญีบรีลก็ตอบว่า "ไม่รู้"

แล้วเมื่อถึงคืน อัล-บะรออะฮ์  (คืนนิสฟูซ๊ะบาน) ญิบรีลได้มาบอกข่าวดีกับท่านศาสดาว่า
จงดีใจเถิด  อัลลอฮ์ได้ให้อภัยแก่ประชากรของท่านทั้งหมดแล้ว  ทั้งนี้หากเขาไม่ใช่เป็นผู้ที่ชิริกในสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อพระองค์


แล้วญิบรีลได้ใช้ให้ท่านศาสดาแหงนขึ้นดูฟากฟ้า เมื่อท่านศาสดาแหงนขึ้นไปดูก็พบว่า ประตูสวรรค์ทุกบานถูกเปิด เห็นมลาอีกะฮ์ทั้งหมดกำลังกราบสุหยูดอยู่ เพื่อขออภัยให้แก่ประชากรของศาสดามูฮัมมัด  โดยที่ประตูที่หนึ่งมีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตูบาเป็นของผู้ที่รูกั๊วะในคืนวันนี้" 

และประตูที่สองมีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตุบาเป็นของผู้ที่สุหยูดในคืนวันนี้" 

และประตูที่สามมีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตุบาเป็นของผู้ที่ซิเกรในคืนวันนี้" 

และประตูที่สี่มีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า

ความว่า "สวรรค์ตูบาเป็นของผู้ที่ขอต่อผู้อภิบาลของเขาในคืนวันนี้" 

และประตูที่ห้ามีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตูบาเป็นของผู้ที่ร้องไห้เพราะมีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ในคืนวันนี้"

และประตูที่หกมีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตูบาเป็นของผู้ที่ทำแต่ความดีในคืนวันนี้"

และประตูที่เจ็ดมีมลาอีกะฮ์กล่าวว่า 

ความว่า "สวรรค์ตูบาเป็นของผู้ที่อ่านอัล-กุรอ่านในคืนวันนี้

และมวลมลาอีกะฮ์เหล่านั้นได้เรียกร้องกันว่า หากมีใครขออะไรเขาจะได้รับ หากมีใครรับสารภาพจะได้รับการอภัย

ท่านศาสดา ศ้อลฯ กล่าวเสริมว่า 

ความว่า "ประตูเราะฮ์มัตทุกบานถูกเปิดออกให้แก่ประชากรของฉันตั้งแต่หัวค่ำจนถึงฟะญัรขึ้น" 

พระนางอาอีซะฮ์ ร่อดิยั้ลลอฮุอันฮา กล่าวว่า: 

ฉันนอนอยู่กับท่านศาสดา ศ้อลฯ  ฉันตกใจมากเมื่อตื่นขึ้นมากลางดึกไม่พบท่านศาสดา ศ้อลฯ ฉันจึงค้นหาด้วยหัวใจที่หึงหวง ฉันคิดว่าท่านคงไปอยู่กับภรรยาคนใดคนหนึ่งของท่านในคืนซึ่งเป็นสิทธิของฉัน ฉันจึงไปหาที่บ้านภรรยาทุกคนแต่ก็ไม่พบ ฉันจึงได้ไปที่บ้านของฟาตีมะฮ์ บุตรสาวของท่าน ฉันเคาะประตูบ้าน แล้วมีเสียงถามออกมาว่า ใครเคาะประตู ฉันตอบว่า ฉัน...อาอีซะฮ์ มาเพื่อถามหาท่านศาสดา ศ้อลฯ ว่าแล้วท่านหะซัน ท่านหุเซน อาลีย์และฟาตีมะฮ์ ก็ออกมาช่วยกันค้นหา ฉันถามพวกเขาว่า เราจะไปหากันที่ไหนฯ พวกเขากล่าวกันว่า ไปหาที่มัสยิด ว่าแล้วพวกเราก็ไปกันที่มัสยิด แต่ก็ไม่พบ

ท่านอาลีย์กล่าวว่า
ท่านศาสดาจะไม่ไปไหนนอกจากที่ กุโบรบะเกี๊ยะ
พวกเราจึงไปกันที่กุโบร เมื่อเราเข้าไปใกล้บริเวณกุโบร เราได้เห็นรัศมีประกายอยู่ในกุโบร


ท่านอาลีย์กล่าวว่า
รัศมีที่เห็นนั้นต้องเป็นรัศมีแห่งท่านศาสดาแน่ เมื่อเราเข้าไปใกล้เราก็พบว่าท่านกำลังสุหยูดพลางร้องไห้ โดยไม่รู้สึกเลยว่าพวกเราไปที่นั่น
ท่านได้กล่าวในขณะสุหยูดอยู่นั้นว่า
 
ความว่า "หากท่านลงโทษพวกเขา แท้จริงพวกเขาก็คือบ่าวของท่าน และหากท่านให้อภัยพวกเขา แท้จริงท่าน คือผู้ทรงอำนาจและทรงปรีชาญาณ"

เมื่อฟาตีมะฮ์เห็นดังนั้น จึงได้เอามือยกศรีษะของผู้เป็นบิดาให้เงยขึ้นจากพื้นดิน แล้วถามว่า โอ้ผู้เป็นบิดา อันใดเกิดขึ้นกับท่าน ศัตรูจู่โจมมาหรือวะฮีประทานมา

ท่านศาสดา ศ้อลฯ กล่าวว่า โอ้ฟาตีมะฮ์ มิใช่ศัตรูจู่โจมมา และก็มิใช่วะฮีประทานมา แต่คืนวันนี้เป็นคืน "อัล-บอรออะฮ์" ฉันจึงขอจากอัลลอฮ์ 

แล้วได้เรียกอาอีซะฮ์ว่า  โอ้อาอีซะฮ์ หากกิยามะฮ์เกิดขึ้นในขณะที่ฉันกำลังสุหยูด ในขณะที่ฉันกำลังขอจากผู้อภิบาลของฉัน  ฉันต้องได้รับความช่วยเหลือแน่ ๆ 

แล้วท่านศาสดาก็ได้กล่าวกับทุก ๆ คนว่า   "หากพวกท่านปรารถนาที่จะตามฉัน  พวกท่านจงทำการสุหยูดกัน  และจงช่วยฉันขอดุดาด้วย  และได้กล่าวเสริมว่า โอ้อาลีย์ ท่านจงสุหยูดและจงไปเชิญชวนให้ผู้ชายทั้งหลายทำการสุหยูด

และกล่าวกับฟาตีมะฮ์และอาอีซะฮ์ว่า โอ้ฟาตีมะฮ์ โอ้อาอีซะฮ์ จงสุหยูดและจงไปเชิญชวนให้เด็ก ๆ และผู้หญิงทั้งหลายทำการสุหยูด...แล้ว...ทุกคนก็ทำการสุหยูดด้วยน้ำตาจนไหลเจิ่งนอง โดยรอบบริเวณที่ทุกคนสุหยูด จวบจนกระทั่งได้เวลาละหมาดซุบห์ 

โอ้ท่านผู้ที่รับฟังหรืออ่านอยู่ในขณะนี้  พวกท่านควรต้องทำการสุหยูดมากกว่าท่านเหล่านี้ เพราะความผิดของท่านทั้งหลายมีมากกว่า ท่านเหล่านี้ร้องไห้เพื่อขออภัยจากอัลลอฮ์ให้แก่พวกท่านทั้งหลาย....ไม่เป็นการพึงควรกว่าหรือ? ที่พวกท่านทั้งหลายจะได้ร้องไห้ให้แก่ตัวของท่านทั้งหลายกันเองบ้าง

จากอัลดุลลอฮ์ บุตรอุมัร กล่าวว่า ห้าเวลาที่ดุอาจะไม่ถูกปฏิเสธ คือ 

            1. ขอในคืนวันศุกร์ 

            2. ขอในคืนวันที่สิบของเดือนมุฮัรรอม

            3. ขอในคืนนิสฟูซ๊ะบาน

            4. ขอในคืนอีดิ้ลฟิตรี่ 

            5. ขอในคืนอีดั้ลอัดฮา 

อัลลอฮ์ท่านได้ทรงทำให้บางเดือนประเสริฐกว่าอีกบางเดือน  บางวันประเสริฐกว่าอีก

บางวัน บางเวลาประเสริฐกว่าอีกบางเวลา  ดังที่ให้รอซู้ลบางท่านประเสริฐกว่าอีกบางท่าน  ประชากรบางประชากรประเสริฐกว่าอีกบางประชากร

ทั้งนี้ก็เพื่อให้แต่ละชีวิตจะได้แข่งขัน รีบเร่ง ในการที่จะให้เกียรติช่วงต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ ดวงวิญญาณจะได้คะนึงหาอยากจะมีชีวิตอยู่ในจังหวะนั้น ๆ ส่วนผลบุญในความล้ำเลิศของบางอย่างบางประการ  มากกว่าอีกบางอย่างบางประการจะเป็นเช่นใดนั้น เป็นเอกสิทธิ์แห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า

ความว่า "ดังกล่าวนั้น เป็นความกรุณาของอัลลอฮ์ที่จะทรงมอบให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ อัลลอฮ์เป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่"

ท่านอัล-กอซานีย์  ได้กล่าวไว้ใน ซัรห์อัตตาอิยะฮ์ ว่า 

ดังที่พระองค์ได้ให้ความล้ำเลิศกับบางเวลา ด้วยการให้เหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นในเวลานั้น ด้วยการให้คนรักมาพบกัน มาเห็นกัน พระองค์ก็ได้ให้ความล้ำเลิศของบางอะมั้ล ดีกว่าอีกบางอะมั้ลด้วย ความประเสริฐ ความบริสุทธิ์ของเจตนา และเป้าหมายแห่งการกระทำที่ได้รับแรงผลักดันมาจากสิ่งที่ดีงาม นั่นคือ ความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ ที่มิได้ปลอมปนกับเพื่อสิ่งอื่นนอกจากเพื่อพระองค์เท่านั้น

 
cr. อาจารย์อับดุลการีม (อรุณ)  วันแอเลาะ

 

กลับสู่  >>  คำสอนอิสลาม | การละหมาดตะหัจยุด

 
 
 
 
Published: By: Guru Iman - 20:47

ความประเสริฐของอัลกุรอ่าน

ความประเสริฐของอัลกุรอ่าน

 

 
 

อัลกุรอ่าน คือคัมภีร์ที่พระเจ้าประทานมาสู่มนุษย์เพื่อเป็นหลักศรัทธา และหลักปฎิบัติในการนับถือศาสนาอิสลามโดยผ่านท่านศาสดามูฮัมหมัดทรงเป็นศาสนทูต

เพื่อรำลึกถึงความสูงส่งของพระดำรัสของอัลลอฮฺ ซูเราะฮฺอัลอิสรออฺ เป็นอายะฮฺที่เริ่มต้นด้วยการยืนยันจากอัลลอฮฺ ว่าอัลกุรอาน เป็นทางนำและทางแก้ไขอันดีเลิศในทุกกรณีและสถานการณ์ และอัลกุรอานเป็นข่าวที่ดีสำหรับผู้ศรัทธาที่กระทำความดี 
 
ความสำคัญ และสถานภาพของบุคคลที่เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความ สำคัญของวิชานั้นในสังคม เช่นนักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ แต่เหตุใดผู้ที่มีความใกล้ชิดเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัลกุรอานที่เป็นกฎหมายของอิสลามจึงไม่ถูกยกย่องเป็นนักกุรอาน (นักวิชาการเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า ชาวกุรอาน-อะลุ้ลกุรอาน) 
จากหะดีษท่านบีมุฮัมมัด กล่าวว่า
 
ในวันอาคีเราะฮฺอัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมนักกุรอาน ซึ่งต้องเป็นคนที่อ่าน เข้าใจ ศึกษา ท่องจำ และปฏิบัติ และนำกุรอานมาใช้ในชีวิตประจำวัน

 พี่น้องลองย้อนกลับมาสำรวจตัวเอง ท่านนบีได้ตั้งไว้ซึ่งคุณสมบัติของนักกุรอานคือผู้ปฏิบัติดีด้วยอัลกุรอานในโลกดุนยานี้ คนเดี๋ยวนี้ดูถูกอัลกุรอานสนใจในวิชาความรู้สามัญจนคิดว่าจำแค่ 3 กุ้ลก็รอดแล้ว
ในบทบัญญัติกฎหมาย มนุษย์จะไม่คุ้มครองคนไม่รู้ เนื่องจากถือว่าทุกคนมี หน้าที่ศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมาย แต่อัลกุรอานมีความชัดเจนในเรื่องนี้หากไม่รู้อัลลอฮฺ ไม่เอาโทษ
ท่านนบี กล่าวว่า เป็นการให้อภัยแก่ประชาชาติของท่านแล้วซึ่งการผิดพลาด คือการไม่รู้ การหลงลืม หรือการถูกบังคับ

นี่คือสามประการที่ไม่มีเจตนารมณ์ในการกระทำผิด แม้การทำชีริก โดยไม่รู้ อัลลอฮฺก็ไม่เอาโทษ เช่นชาว อะลุลฟัตเราะฮฺ คือผู้มีชีวิตระหว่างสองนบี เช่น ผู้ที่เกิดระหว่างยุคของนบีอีซา และนบีมุฮัมมัด หากเขาตายในสภาพผู้ที่บูชาเจว็ดก็ถือเป็นมุชริก แต่ถ้าเขาคือผู้ที่ไม่รู้จักศาสนาของอัลลอฮฺ ในอาคีเราะฮ อัลลอฮฺ จะทดสอบเขาโดยให้เข้านรกถ้าเชื่อฟังก็ถือว่าศรัทธา ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ศรัทธา ก็ตอนนั้นรู้แล้วว่ามีทั้งปรโลก ทั้งอัลลอฮฺ  แล้ว นับประสาอะไรกับโลกนี้ที่ไม่เห็นอะไรเลยก็ยิ่งฝ่าฝืน นี่คือกฎหมายอิสลาม เห็นได้ชัดว่ากฎหมายของอัลลอฮฺ นั้นยุติธรรมที่สุดแล้ว เพราะถ้าท่านไม่รู้อัลลอฮฺ ไม่เอาโทษ 
เป็นที่เอกฉันท์แล้ว ท่านไม่วาญิบท่องจำอัลกุรอาน แต่มีคำเรียกร้องให้ท่านเป็นนักกุรอาน เป็นผู้เชี่ยวชาญอัลกุรอาน มีบันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม ท่านนบีกล่าวไว้ว่า 
"แท้จริงอัลลอฮฺ ได้ยกระดับกลุ่มชนหนึ่งด้วยคัมภีร์นี้ และลดระดับกลุ่มชนหนึ่งด้วยคัมภีร์ คนที่จะสูงส่งด้วยอัลกุรอานก็ด้วยการปฏิบัติตามอัลกุรอาน"
 หะดีษบันทึกโดยอัลบุคอรียฺ รายงานจากท่านอุสมาน อิบนุอัฟฟาน
ท่านนบี กล่าวว่า "คนที่ประเสริฐยิ่งในหมู่พวกท่านคือคนที่เรียนรู้ และสอนอัลกุรอาน"
ซึ่งการจะเป็นคนที่ประเสิรฐยิ่งในโลกนี้และโลกหน้าก็ต้องเป็นผู้ที่เรียนรู้และปฏิบัติตามอัลกุรอาน
การเรียนนี้มีหลายระดับ ขั้นแรกก็คือ การเรียนการอ่านอัลกุรอาน ต้องพยายาม ซึ่งความพยายามอันนี้แหละที่จะเป็นผลบุญและบรรลุความประเสริฐ เทียบหากว่ามีผู้มอบทุนเรียนจบ ป.เอก และให้งานทำที่อเมริกา ย่อมไม่มีใครจะปฏิเสธลง แต่นี่อัลลอฮฺ บอกว่าเรียนอัลกุรอานได้สวรรค์ หะดีษ บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีและมุสลิม รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ
ท่านนบี กล่าวว่า
บรรดาผู้ที่อ่านอัลกุรอานด้วยความเชี่ยวชาญ (ที่เราเรียกกันว่า นักกอรี ที่มาจาก กอ-รอ-อาที่แปลว่าอ่าน) ซึ่งที่มากุรอานนั้นมาจาก กอรออฺที่แปลว่ารวบรวม เพราะเป็นการรวบรวมพระดำรัสของอัลลอฮฺ แต่บางทรรศนะว่ามาจาก กอรออาที่แปลว่าที่ถูกอ่าน เพราะถูกประทานให้อ่านไม่ใช่ให้เก็บ
ในสมัยนี้กอรี หมายถึงผู้ที่อ่านเก่ง แต่ในสมัยนบีคืออาลิม
หะดีษบันทึกโดยอิหม่ามบุคอรี คนที่ควรเป็นอิหม่ามคือคนที่อ่านอัลกุรอานมาก เพราะกระบวนการเรียนในสมัยนั้นจะไปเรียนกับท่านนบี ทีละสิบอายะฮฺจนสะสมความศรัทธาแล้วจึงย้ายไปอีกสิบอายะฮฺ ซึ่งแตกต่างกับปัจจุบันค่อนข้างมากที่นักกอรีคือผู้เป็นนักอ่านอัลกุรอานแบบ ละฆู (ทำนอง เป็นรากศัพท์จากภาษามลายูแปลว่าเพลง ดนตรี ไร้สาระ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนทำนองดนตรีอาหรับจริงๆ) และแน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาประสบความสำเร็จ คือ ผู้ที่ละหมาดด้วยความนอบน้อม และบรรดาผู้ที่ละทิ้งสิ่งที่ละฆู (ไร้สาระ) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่จะนำคำว่าทำนองดนตรีมาใช้กับอัลกุรอาน กอรปกับชาวมลายูและไทยที่ไม่สันทัดกับภาษาจึงไม่ขัดข้องที่จะใช้คำว่า ละฆู เพราะเป็นการอ่านโดยไม่ต้องปฏิบัติ
 ดังนั้นถ้าสังคมไม่มีนักกอรี สังคมไม่หายนะ แต่ถ้าสังคมขาดนักความหมายอัลกุรอานสังคมต้องหายนะ แต่ปัจจุบันนี้มันไม่ใช่ นักอัลกุรอานกลับถูกประหารชีวิตในโลกมุสลิม เช่น เชคซัยยิด กุฏูบ นักอธิบายอัลกุรอาน ในประเทศอียิปต์ แต่นักกอรีไปอ่านอีซีกุโบเป็นดารามีคนตามไปฟังเป็นพัน แต่ที่ตามไปฟังนั้นเค้ารำลึกเนื้อหาเพื่อการปฏิบัติหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ต้องตระหนัก นั้นแสดงถึงคุณค่าของอัลกุรอานในสังคมของเรา
กลับมาที่หะดีษแรก ที่อัลกุรอานจะถูกนำมาพร้อมกับชาวอัลกุรอาน โดยมีซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ กับ ซูเราะฮฺอาลิอิมรอน นำหน้ามา มีหะดีษว่าสองซูเราะฮฺ จะมาเป็นเมฆสองปุยสองก้อน (มีหลายทรรศนะตีความว่ามาเป็นแบบจริงหรือไม่) เพราะสองซูเราะฮฺนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับกฎหมาย
จนเศาะฮาบะฮฺกล่าวว่า ใครที่ศึกษาเรียนรู้ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺจนเชี่ยวชาญในหมู่พวกเราถึงว่า เป็นอาลิม
ท่านนบี บอกว่าสองซูเราะฮฺ นี้จะมาโต้เถียงแทนเจ้าของ สองซูเราะฮฺนี้คือผู้ท่องจำ ชำนาญจนปฏิบัติตามสองซูเราะฮฺนี้ บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม
ท่านนบี กล่าวว่า พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอานเถิด เพราะมันจะเป็นทนายให้แก่ท่าน
การอ่านในที่นี้ไม่ใช่แค่ท่องจำเท่านั้น มิฉะนั้นนักกอรีทั้งหลายก็เป็นชาวสวรรค์กันหมด

หะดีษบันทึกโดยตีรมีซี รายงานว่าท่านนบี กล่าวว่า ผู้ที่ไม่มีในหัวใจซึ่งอัลกุรอานเปรียบเสมือนบ้านพัง บ้านรก ไม่มีสัมภาระ ไม่มีใครอยากอยู่มีแต่หยากไย่ ในหัวใจก็จะพบแต่เพียงสิ่งไร้สาระทั้งหลาย
 มีรายงานจากอาบูมูซา อัลอัชอะรี ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
 กล่าวความว่า "อุปมามุอฺมินที่อ่านอัลกุรอานอุปไมดังผลอัลอุตรุจญะฮฺ รสชาติของมันดี (อร่อย) และกลิ่นของมันดี (หอม)"

บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม
มีความขัดแย้งว่าคืออะไร บางคนบอกว่าต้นไม้ ท่านนบีบอกว่า อุตรุจญะฮฺ คือ ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี มุอฺมินที่อ่านอัลกุรอานจะมีกลิ่นหอม รสชาติดี อัลกุรอานเป็นสัญลักษณ์

อุปมามุอฺมินที่ไม่อ่านอัลกุรอาน เปรียบดังอิทผาลัมที่มีรสชาติดีแต่ไม่มีกลิ่น เมื่อไม่มีกลิ่น เมื่อไม่มีอัลกุรอานจึงเป็นมุอฺมินที่ขาดสัญลักษณ์ ที่จะปรากฏในรูปร่าง ใบหน้า การกระทำ ในถ้อยคำ ปรากฏหมดในชีวิต คนที่ใกล้ชิดอัลกุรอาน จะหอมมากแต่จะหอมเฉพาะคนที่มีความสามารถเท่านั้น เช่น บางคนได้กลิ่นเหล้าแล้วเหม็น ขณะที่บางคนจะหอม หรือคนที่มีไข้เป็นหวัด กินอาหารแล้วไม่มีรสชาดหรือผิดเพี้ยนไป
ดังนั้นคนที่เห็นอะไรดี ๆ แล้วว่าไม่ดีก็ผิดปกติ คนที่จะรู้ว่าอัลกุรอานหอมก็คือคนที่รู้คุณค่าของอัลกุรอาน ไม่ใช่เอาคนที่ทิ้งอัลกุรอ่านหรือสาปแช่งอัลกุรอานมาดม มุอฺมินถึงไม่อ่านอัลกุรอานก็ยังมีคุณค่าอยู่ดี ดังอิทผาลัมที่ยังไงก็มีคุณค่า แม้คนที่เป็นเบาหวานกินอินทผาลัมก็ไม่มีปัญหา
ส่วนอุปมามุนาฟิก ที่อ่านกุรอาน อุปมัยใบโหระพาที่ขม แต่กลิ่นนั้นหอม อุปมามุนาฟิกที่ไม่อ่านอัลกุรอาน อุปมัยอัลฮัมบาละฮฺ ที่ไม่มีกลิ่นและรสชาติขม
 
ลักษณะหรือสัญลักษณ์ในทุกคนที่นบี ได้อุปมาไว้นี้ คนที่อ่านอัลกุรอาน จะได้มาซึ่งกลิ่นหอมที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง นี่เป็นคุณค่าของการอ่านกุรอานที่ได้รับการยกย่อง แม้อ่านโดยไม่ศรัทธาและปฏิเสธด้วยซ้ำ แสดงว่ากลิ่นหอมเป็นสิ่งที่หลอกกันได้ แต่รสชาดเป็นของจริง ถ้าเราเป็นมุอฺมินแต่ไม่อ่านอัลกุรอาน ก็ยังมีรสชาติดีแต่ถ้าเราไม่ยอมรับแล้วเหลืออะไร ก็ไม่ต่างจากมุนาฟิกที่ทั้งไม่หอมและขม ใช้ไม่ได้ นี่คือคุณค่าของอัลกุรอานสำหรับคนที่อยากจะถูกนำมาในอาคีเราะฮฺด้วยความสูงส่ง
 
สุดท้าย ท่านนบี สอนเพื่อเราจะได้รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไร จากบันทึกของอบูดาวูด และตีรมิซียฺ บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัด ด้วย รายงานจากฮับริลละห อิบนี อัมรี บิน เอาศ
ท่านนบี กล่าวว่า ในวันกียามะฮฺได้ถูกกล่าวให้แก่เจ้าของกุรอาน อิกเราะอฺ จงอ่าน จงสูงขึ้น จงอ่านตามที่ท่านเคยอ่านในโลกดุนยานี้ แท้จริงตำแหน่งสูงสุดของท่านอยู่ที่อายะฮฺสุดท้ายที่ท่านสามารถอ่านจบได้
ถือว่าอัลกุรอานเป็นธรรมนูญ ที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จในทุกประเด็น แก้ไขทุกปัญหา กุรอานจำเป็นต้องมีพื้นที่ในชีวิตของเรามากกว่าอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นสิ่งไร้สาระ หรือวิชาความรู้ทั่วไป มากกว่าลูก มากกว่าครอบครัว
 
 
 จากการบรรยาย : เชคริฎอ อะหมัด สมะดี


สุดท้ายขอดุอาให้ทุกท่านได้รับแนวทางที่เที่ยงตรงกันจนถึงวาระอันควร..ตามที่พระองค์ทรงกำหนด
 

 กลับสู่  >>  คำสอนอิสลาม

Published: By: Guru Iman - 20:47

คำศัพท์ภาษาอาหรับ

 

คำศัพท์ภาษาอาหรับ และความหมาย

 
 
ในคำสอนของอิสลามมีคำศัพท์ที่มักจะเรียกกันทับศัพท์มาจากภาษาอาหรับ หรือคำเฉพาะซึ่งอาจจะเข้าใจความกันไม่ชัดเจนนัก เรามีคำอธิบายเพื่อความกระจ่างในการทำความเข้าใจกันตามนี้
 
การละหมาด
การถือบวช
การถือศีลอด
เดือนบวช
เดือนรอมาดอน
การออกซ่ากาต
การทำฮัจย์
การรู่กัวะ
การสุหยูด
ละหมาดตะฮัจยุด
ละหมาดสุนัต
วายิบ
สุนัต
ฮาลาล
ฮารอม
เมียะรอจ
กุโบร์บาเกีัยะ
นบี
มลาอิกะฮฺ
 
 

กลับสู่  >>  คำสอนอิสลาม

 
 
 
Published: By: Guru Iman - 20:06

การรักษาสัญญา การให้อภัย คุณค่าของความดี



 

คำสอนของอิสลาม (2)

 

การรักษาสัญญา การให้อภัย คุณค่าของความดี


ครั้งหนึ่ง มีชายหนุ่มสองคนได้จับลากตัวชายอาหรับเร่ร่อนจากทะเลทรายมาหาท่านอุมัร  เพื่อตัดสินลงโทษ ท่านอุมัรถามว่า เขาทำอะไรผิดหรือ
ชายหนุ่มทั้งสองตอบว่า เขาฆ่าบิดาของเราทั้งสอง 
ท่านอุมัรจึงถามชายผู้เป้นฆาตกรว่า ทำไมจึงฆ่าเขา และฆ่าอย่างไร
เขาจึงเล่าเหตุการ์ณทั้งหมดให้ท่านอุมัรฟังว่า ผู้ตายได้นำอูฐเข้ามาในที่ของเขา เขาจึงได้ขับไล่ผู้ตายและอูฐออกจากที่ของเขา แต่ผู้ตายไม่ยอมออก เขาจึงเอาก้อนหินขว้างไปโดนที่ศรีษะ ทำให้ผู้ตายได้เสียชีวิต

ท่านอุมัรจึงตัดสินให้ประหารชีวิตเขาทันที  แต่เขาได้กล่าวขอกับท่านอุมัรว่า เขายินดีรับโทษตาม
ความผิด แต่ขอให้เขาได้กลับไปหาร่ำลาครอบครัวลูก ๆ ที่ยังเล็ก ๆ และกำลังรออาหารจากเขาก่อนได้หรือไม่ เพราะครอบครัวของเขารอเขากลับบ้านอยู่และอาจจะอดตาย
ท่านอุมัรจึงถามทุกคนว่า ในที่นี้ใครจะรับประกันเขาได้บ้าง ทุกคนเงียบ ไม่มีใครที่จะรับประกันชายแปลกหน้าเผ่าเร่ร่อนอย่างเขาได้ ท่านอุมัรจึงให้พาเขาไปยังที่ประหาร ท่านอุมัรรู้สึกเป้นกังวลถึงครอบครัวของเขามาก เพราะการประหารเขา อาจเท่ากับประหารชีวิตครอบครัว ลูก ๆ เล็ก ๆ ของเขาด้วย

เมื่อถึงที่ประหารท่านอุมัรจึงถามบุตรชายทั้งสองของผู้ตายอีกครั้งว่าท่านทั้งสองคิดเช่นไร
บุตรชายทั้งสองก้ยังยืนยันที่ต้องการให้ประหารเขาเลย ท่านอุมัรจึงถามคนอื่น ๆ อีกว่า จะมีใครกล้าค้ำประกันให้เขากลับไปหาครอบครัวก่อนประหารไหม  ทุกคนเงียบยกเว้นผู้เฒ้าคนหนึ่งที่ชื่อ อบูซัรริน ซอฮาบะฮ์ผู้อาวุโสของรอซูลุ้ลลอฮ์ (ซล)

ท่านได้ลุกขึ้นยืนและกล่าวว่า ฉันขอรับประกันเขาเอง ท่านอุมัรจึงถามว่า ท่านรู้จักเขาหรือ
อบูซัรริน กล่าวฉันไม่รู้จักเขา
ท่านรู้อะไรเกี่ยวกับเขาบ้างไหม ท่านอุมัรถาม
ท่านอบูซัรรินกล่าวว่า ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาเลย
ท่านอุมัรจึงกล่าวว่าแล้วท่านกล้ารับประกันเขาหรือ
อบูซัรรินก้ยังยืนยันรัปประกันเขาเหมือนเดิม
ท่านอุมัรจึงให้เวลาเขาสามวันที่จะกลับไปหาครอบครัว และให้กลับมาก่อนดวงอาทิตย์ตกของวันที่สาม โดยมีอบูซัรรินเป็นผู้ค้ำประกันด้วยชีวิต

และสามวันหลังจากนั้น หลังละหมาดอัสริ ชายผู้นั้นก็ยังไม่กลับมา ท่านอุมัรมองท่านอบูซัรรินที่นั่งอยู่ข้างหน้าด้วยความกังวลใจเป็นที่สุด แต่ท่านอบูซัรรินกลับนั่งอย่างสงบนิ่ง และทุกคนต่างเฝ้ามองดวงอาทิตย์ที่กำลังจะลับขอบฟ้าด้วยหัวใจที่คิดว่าวันนี้ทำไมดวงอาทิตย์จึงเดินเร็ว

แต่ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า ก็ปรากฏชายอาหรับเร่ร่อนผู้นั้นได้กลับมาทันตามสัญญา
ท่านอุมัรได้กล่าว อัลลอฮุอักบัร ๆ ด้วยเสียงอันดัง พร้อมการกล่าว อัลลอฮุอักบัร ของผู้ที่อยู่ในมัสยิดทั้งหมด 
หลังจากนั้นท่านอุมัรจึงถามเขาว่า ทำไมเจ้าจึงกลับมา
เขากล่าวตอบว่า ถ้าฉันไม่กลับมาฉันกลัวว่าผู้คนจะไม่รักษาสัญญากันอีก
แล้วท่านอุมัรจึงได้หันไปถามท่านอบูซัรรินว่า แล้วทำไมท่านจึงกล้ารับประกันให้เขา
ท่านอบูซัรรินได้กล่าวตอบว่า เพราะฉันกลัวความดีของผู้คนจะหายไป
ท่านอุมัรจึงได้หันไปถามบุตรชายทั้งสองของผู้ตายว่า แล้วท่านทั้งสองคิดว่าอย่างไร 
บุตรชายทั้งสองของผู้ถูกตายก็กล่าวว่า เราทั้งสองอภัยให้เขาแล้ว ด้วยความดีของเขา อย่าประหารเขาเลย
ท่านอุมัรจึงถามว่า ทำไมท่านทั้งสองจึงอภัยแก่เขา
บุตรทั้งสองของผู้ตายจึงกล่าวว่า เพราะเรากลัวว่าผู้คนจะไม่มีการให้อภัยกันอีก
เมื่อทั้งสองกล่าวตอบแก่ท่านอุมัรดังนั้นแล้ว เสียงกล่าว อัลลอฮุอักบัร ได้ดังกระฮึ่มไปทั่วมัสยิด พร้อมกับน้ำตาแห่งการให้อภัยซึ่งกันและกันบนใบหน้า และสองแก้มของคนทั้งมัสยิด อัลลอฮุอักบัร ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

อมีน ..ขออัลลอฮฺทรงโปรด แด่ผู้ที่ส่งบทความนี้มาเผยแพร่ด้วย..



cr. Thammasart Muslim Club

กลับสู่  >>  คำสอนของอิสลาม

Published: By: Guru Iman - 18:00

วัน เดือน ปี ที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

 

วัน เดือน ปี ที่สำคัญของศาสนาอิสลาม

 

วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม

วันตรุษอิดิ้ลฟิตริ
  
วันตรุษอิดิ้ลฟิตริ คือวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ตรงกับวันที่ 30 หรือวันสุดท้ายของเดือนรอมาดอน เพื่อการเฉลิมฉลองการถือศีลอด

วันตรุษอิดิ้ลอัดฮา 

วันตรุษอีดิ้ลอัดฮา คือวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ตรงกับวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจยะห์
 

คืนนิฟฟูซะอฺบาน

เป็นวัน และคืนอันประเสริฐคืนหนึ่งในช่วงเวลาของ เดือนร่อญับ ซึ่งมีวันสำคัญอยุ่ใน 3 วันของเดือนนี้
 

เดือนสำคัญทางศาสนาอิสลาม 

เดือนในปฎิทินของอิสลามมี 12 เดือนตามจันทรคติ ต่างจากปฎิทินของสุริยคติทั่วไป ซึ่งมีเดือนสำคัญคือ
 
เดือนซุลฮิจยะห์
 
 
การใช้ชีวิตในช่วงเดือนร่อญับ
 
เดือนซะอบาน
 
เดือนรอมาดอน
  

ปีที่สำคัญทางศาสนาอิสลาม

 
 
Published: By: Guru Iman - 16:59

รอญับ เดือนสำคัญของอิสลาม

เดือนรอยับ รยับ หรือรอญับ เดือนสำคัญของอิสลาม

 
 

 
 
เดือนรอญับ เป็นเดือนสำคัญใน 12 เดือนของศาสนาอิสลามการได้มีโอกาสใช้ขีวิตอยู่ในช่วงเวลาสำคัญนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐและเป็นสิ่งที่ดีงามหากเราได้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องจะเกิดภาคผลอันมากมายอันได้แก่ การถือศีลอดในวันที่ 1 12 13 15 หรือใน 3 วันของเดือนร่อยับ การขออภัยโทษต่อพระเจ้า การทำความดีต่าง ๆ


สิ่งที่ควรปฎิบัติในเดือนรอยับ

 
 
รอญับ ตามรากศัพท์มีความหมายว่า ยิ่งใหญ่หรือ เท เพราะเราห์มัตจะถูกเทมาให้แก่บรรดาผู้ขออภัย อีกทั้งจะได้นำมาซึ่งความท่วมท้นแก่ผู้ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามมาให้แก่บรรดาผู้ขออภัย อีกทั้งจะได้นำมาซึ่งความท่วมท้นแก่ผู้ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม 
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า รอญับเป็นชื่อของแม่น้ำสรวงสวรรค์ ซึ่งมีน้ำสีขาวยิ่งกว่าน้ำนม มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง มีความเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็ง จะไม่มีใครได้ดื่มนอกจากผู้ที่ถือบวช ในเดือนรอญับ เท่านั้น 
ท่านนะบีศ้อลฯ กล่าวว่า 
رَجَبٌ شَهْرُاللهِ وَشَعْبَانُ شَهْرِىْ وَرَمَضَانُ شَهْرُأُمَّتِىْ

ความว่า รอญับ เป็นเดือนของอัลลอฮ์ ซะบานเป็นเดือนของฉัน และรอมดอนเป็นเดือนแห่งอุมัต(ประชากร) ของฉัน
และนักถอดรหัสกล่าวว่า คำว่า รอญับในภาษาอาหรับนั้นเป็นคำที่มีสามอักษร คือ อักษรรอ อักษรญีม และอักษรบา  
อักษรรอ ر เป็นรหัสของ เราะฮ์มะตุลลอฮ์ซึ่งหมายถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ 
อัรษรญีม ج  เป็นรหัสของ ญุรมุลอับดิซึ่งหมายถึงความผิดของบ่าว 
อักษรบา ب  เป็นรหัสของ บิรรุ้ลลอฮ์ซึ่งหมายถึง ความใจบุญของอัลลอฮ์ 
ประดุจอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า จงทำให้ความผิดของบ่าวของฉันอยู่ระหว่างความเมตตาและความใจบุญของฉัน 
และจากอะบีฮุรอยเราะฮ์ รอดิยั้ลฯ กล่าวว่า ท่านนะบีศ้อลฯ กล่าวว่า 
 مَنْ صَامَ السَّابِعَ وَالْعِشْرِيْنَ مِنْ رَجَبٍ كُتِبَ لَهُ صِيَامُ سِتِّيْنَ شَهْرًا وَهُوَأَوَّلُ يَوْمٍ نَزَلَ فِيْهِ جِبْرِيْلُ عَلىَ النَّبِى صلعم بِالرِّسَالَةِ وَفِيْهِ أُسْرِيَ بِهِ صعلم
 
ความว่า ใครบวชในวันที่ 27 ของเดือนรอญับ เขาได้รับการบันทึกเท่ากับการถือบวช 60 เดือน
วันดังกล่าวคือ วันแรก ที่ญิบรีลนำสารจากอัลลอฮ์มามอบให้ท่านนะบีศ้อลฯ และในวันดังกล่าวเป็นวันที่ท่านนะบีศ้อลฯ ได้ถูกนำเดินทางในตอนกลางคืน (อิสรออ์)
และท่านนะบีศ้อลฯ กล่าวว่า 
أَلاَ اِنَّ رَجَبًا شَهْرُاللهِ اْلأَصَمُّ فَمَنْ صَامَ مِنْ رَجَبٍ يَوْمًا اِيْمَانًا وَاحْتِسَا بًا ، اِسْتَوْجَبَ رِضْوَانَ اللهِ

ความว่า พึงรู้ว่า แท้จริงเดือนรอญับเป็นเดือนของอัลลอฮ์ที่เงียบสงัด (หมายถึงเป็นเดือนที่ระงับการล้างแค้น และการต่อสู้ในทุกรูปแบบ)

ดังนั้นการบวชในเดือนรอญับ ในวันใด ๆ ก็ตาม ในสภาพที่เขามีศรัทธา และหวังในผลานิสงค์ เขาจักได้รับความยินดีจากอัลลอฮ์
นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า
زَيَّنَ اللهُ الشُّهُوْرَبِأَ رْبَعَةٍ :  ذِى اْلقَعْدَةِ وَذِى الْحِجَّةِ وَالْمُحَرَّمِ وَرَجَبٍ

ความว่า อัลลอฮ์ได้ทรงประดับ (ตกแต่ง) เดือนต่างๆ ไว้สี่เดือน ก็คือ ซุลก็อิดะห์ ซุลฮิจญะห์ มุฮัรรอม และรอญับ
 
อัล-กุรอ่าน กล่าวว่า
أَرْبَعَةٌحُرُمٌ مِنْهَا

ความว่า จากจำนวนเดือนทั้งหมดนั้น มีสี่เดือนต้องห้าม (สี่เดือนที่มีเกียรติ)

เดือนต้องห้ามนี้มีสามเดือนที่อยู่ติดกัน และมีเดือนหนึ่งที่ไม่ติดต่อกับเดือนต้องห้ามอื่น ๆ เดือนนั้นก็คือเดือนรอญับ
มีเรื่องเล่าขานกันมาว่า ที่ บัยตุ้ลมักดิส นั้น มีหญิงคนหนึ่งอ่าน กุลฮุวัลลอฮ์ ทุกวันในเดือนรอญับ 112 พันครั้ง นางสวมใส่อาภรณ์ที่ทำมาจากขนสัตว์ (ซึ่งเป็นเสื้อผ้าที่มีราคาถูกในสมัยนั้น) ในเดือนรอญับ เมื่อนางป่วย นางได้สั่งลูกชายของนางให้กาฝั่นนางแล้วฝังด้วยเสื้อผ้าขนสัตว์ที่นางสวมใส่ เมื่อนางตายลูกชายของนางได้หาผ้ากาฝั่นราคาแพงมากาฝั่นให้ เมื่อลูกนอนหลับลูกได้ฝันว่าแม่ได้พูดว่า แม่ไม่ยินดีในตัวลูก เพราะลูกไม่ทำตามแม่สั่ง เมื่อลูกตื่นขึ้นมาก็ได้นำเอาเสื้อผ้าขนสัตว์ไป โดยจะนำฝังไว้ในหลุมศพของแม่  เมื่อขุดลงไปกลับไม่พบศพของแม่  ซึ่งมีความตกใจมาก ทันใดนั้นได้ยินเสียงเรียกว่า ไม่รู้หรือว่า แท้จริงคนที่เชื่อฟังเราในเดือนรอญับ เราจะไม่ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวตามลำพัง

และมีรายงานว่า
إِذَاكَانَ ثُلُثُ الَّليْلِ مِنْ أَوَّلِ جُمْعَةٍ مِنْ رَجَبٍ لاَيَبْقَى مَلَكٌ إِلاَّوَيَسْتَغْفِرُلِصُوَّامِ رَجَبٍ


ความว่า เมื่อได้เวลาส่วนที่สามของคืนญุมอัตแรกในเดือนรอญับ จะไม่มีมลาอีกะฮ์ใดๆ นอกจากจะได้ขออภัยให้แก่ผู้ถือบวชในเดือนรอญับ
 
จากอะนัสบินมาลิก รอดิยั้ลฯ กล่าวว่า ท่านรอซูลศ้อลฯ กล่าวว่า 
مَنْ صَامَ ثَلاَ ثَةَ أَيَّامٍ مِنْ شّهْرٍحَرَامٍ كُتِبَ لَهُ ثَوَابُ عِبَادَةِ تِسْعَمِائَةِ سَنَةٍَ

ความว่า ใคร ถือบวชสามวัน ในเดือนต้องห้าม เขาจะได้รับการบันทึกให้เท่ากับทำอิบาดะห์ 900 ปี
ท่านอะนัส บินมาลิก กล่าวว่า 
صُمْتُ أُذُنَايَ إِ نْ لَمْ أَكُنْ سَمِعْتُهُ مِنْ رَسُوْلِ اللهِ صل

ความว่า หูของฉันทั้งสองข้างได้บวช หากฉันไม่ได้ยินจากท่านรอซูลศ้อลฯ (หมายถึงฉันจะไม่ฟังอะไรทั้งสิ้น หากไม่ได้มาจากท่านรอซูลศ้อลฯ)
 
cr. อาจารย์อับดุลการีม(อรุณ)  วันแอเลาะ


กลับสู่  >>  หน้าแรก | วัน เดือน ปี ที่สำคัญของอิสลาม

Published: By: Guru Iman - 20:50

 

Ads